สุดยอด DIY Power Bank ในฝัน แบตฯเสื่อม ก็เปลี่ยนแบตฯใหม่เองได้ง่ายๆ เหมือนเปลี่ยนถ่านรีโมท ไม่ต้องโยนทิ้ง
ก่อนอื่น นายเรย์จะขอสารภาพว่าเป็นคนออกแนวจิตหน่อยๆ จากประสบการ์ณเก่า + ความโคตงก ทำให้ไม่เคยมีความติดที่จะซื้อ power bank มาใช้ ไม่ว่าจะยี่ห้อไหน ดีอย่างไรก็ตาม ก็ไม่เคยมอง สาเหตุก็เพราะ ข้างในที่เป็นแบตเป็นแบบลิเธียม มันจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยเต็มที่ 2 ปี เท่านั้น ยี่ห้อดีหน่อยก็ 3 ปี แต่ก็ยาก ยิ่งแบตถูกๆจากจีนอยู่ได้แค่ปีเดียวเท่านั้น พอแบตเสื่อม ทำไง? ก็ต้องโยนทิ้งทั้งยวงน่ะสิเช่นเดียวกับ small talk แบบ Bluetooth สมัยก่อนตัวแรกที่ซื้อมาใช้ ก็หลายพันอยู่ตอนนั้น เพราะเป็นเทคโนโยลีใหม่เพิ่งออกมา พอแบตเสื่อม ใช้การไม่ได้ แกะดูข้างใน พยายามเปลี่ยนเอง ด้วยความที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์แกะที่เหมาะสม ก็พังตามระเบียบ และก็ต้องทิ้งไปทั้งยวง -*- เป็นความหลังฝั่งใจตลอดมา ว่าอุปกรณ์ในที่มีแบตในตัวและเปลี่ยนได้ยากจะเลี่ยงไม่ซื้อไป เลยทำให้ มี Power Bank ในอุดมคติอยู่ในใจ โดยหลักๆ คือ ต้องสามารถเปลี่ยนแบตด้านในได้ด้วยตัวเอง กรณีที่ cell แบตเสื่อมสภาพตามอายุ และต้องเปลี่ยนได้ง่ายเหมือนเปลี่ยนถ่านรีโมท จึงได้เริ่มโปรเจค ทำ power bank ไว้ใช้เองขึ้นมา
DIY Power Bank MK-I
DIY Power Bank ตัวแรกนี้ ทำไว้นานหลายปีแล้ว เลยมีแค่รูปสำเร็จ (ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ) ตัวแรกนี้แบตฯที่ใช้ยังเป็นแบบ NiMH หรือก็คือ ถ่านชาร์จ นิกเกิลเมธิลไฮดราย์ นั่นเอง ส่วนตัววงจรที่ใช้เป็นโมดูล Step Down 5v เพียงอย่างเดียว เพราะนายเรย์มีเครื่องชาร์จถ่านไว้ใช้งานอยู่แล้ว บวกกับพื้นที่ติดตั้งจะทำให้ หากล่องมาใส่ยากขึ้น และขนาดจะใหญ่เกินไปจนพกพาไม่สะดวกจากนั้นก็สั่งลองซื้อลังถ่านแบบ 4 ก้อน แบบมีสวิชต์เปิด/ปิดในตัวมา โชคดีมาก มันได้มุมกว้าง ยาว หนา แบบพอดิบพอดีกับโมดูล ลงตัวมากๆ มันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้โดยแท้ ก็จัดการตัด ยัด ย้ายสายไฟ และบัดกรีสายให้เรียบร้อย ยึดกาวให้แน่น ใส่ถ่าน ทดลองใช้งานได้ปกติ เยี่ยม!
สรุป DIY Power bank MK - I
ด้วยคุณภาพถ่านแบบ NiMH ที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง กับปัจจัยด้านการแปลงพลังงาน ทำให้ power bank ตัวนี้ใช้งานได้ไม่นานเท่าไหร ชาร์จมือถือ ได้แค่ประมาณ 5% ด้วยถ่านขนาด 2800 mhA จำนวน 4 ก้อน ปัจจัยอย่างแรกคือ ประสิทธิภาพถ่าน ไม่ถึงตามที่ระบุ(ถ่านใช้มาหลายเดือนแล้ว) และอีกข้อหนึ่งที่สำคัญคือ เมื่อกำลังไฟอ่อนลง ทำให้การแปลงไฟได้กระแสไม่คงที่ ส่งผลให้ชาร์จมือถือไม่เข้า แต่ก็ใช้สะดวกเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด ขึ้นเขา ไปทะเล ที่ไม่มีปลั๊กไฟให้ชาร์จ ก็สามารถใช้เป็นที่ชาร์จฉุกเฉินได้ เพราะสามารถใช้ถ่านอัลคาไลน์ AA จากร้านสะดวกซื้อ ใส่แทนได้เลย ใช้งานฉุกเฉินได้ดีไปอีกแบบDIY Power Bank MK-II & III
Power Bank สองตัวถัดมานี้ ซื้อมาพร้อมกัน แต่เป็นคนละแบบ คนละรูปทรง ใหญ่อัน(ใส่แบตได้ 5 ก้อน) พร้อมจอ LCD แสดง % ความจุที่เหลือ ส่วนอันเล็ก (ใส่แบตได้ 3 ก้อน) ส่วนตัวแบตฯที่ใช้เป็นแบบลิเธียมฯ ชนิดที่รู้จักกันดีในรหัส 18650 ซึ่งเดียวนี้ก็หาซื้อได้ง่ายขึ้นมากผ่านร้านค้าในอินเตอร์เน็ต ส่วนก้อนที่ใช้ในโปรเจคนี้แกะมาจาก แบตเตอรี่โน๊ตบุ๊คตัวเก่าของนายเรย์เอง เป็นโน๊ตบุ๊คที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เปิดเครื่องไม่ได้ ข้อความแสดงว่าให้เปลี่ยนแบตฯ ก็เลยแกะด้วยความเจ็บใจ 555+ เพราะมันชาร์จไม่เข้า วงจรด้านในล๊อคไว้ ตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ และบังคับให้เปลี่ยนใหม่สถานเดียว ทั้งๆที่เรารู้ว่าตัวแบตฯมันยังใช้ได้อยู่แน่ๆ
แหกแม่มเลย 555+ ตรวจสอบเบื้องต้น ทุกก้อนอยู่สภาพดี ไม่บวม ไม่มีน้ำอะไรไหลออกมา |
เล่าย้อนหลังหน่อย ในตอนแรก นายเรย์ก็ตั้งใจว่าจะทำแบบเดิม คือ มองหาโมดูล/แผงวงจร ที่เหมาะสม แล้วเอามาประยุกต์ใช้งาน + หาลังถ่าน มาประกอบเอง แต่พอหาข้อมูลมากเข้าๆ ก็ไปเจอแบบสำเร็จรูป + กับราคาที่เทียบรวมกันแล้วถูกกว่าอีก แถมมาพร้อมวงจรชาร์จในตัว ทั้งมีลังถ่าน กับตัวแสดงระดับแบตฯมาให้พร้อมสรรพเลย โอ้ว! จัดสิ รอไร ประหยัดเวลาประกอบลงไปได้อีกด้วย สั่งของไป ส่งจากจีน รอหน่อย ของมาถึงก็จัดการทดสอบ ว่าใช้งานได้ปกติไหม ชาร์จเข้าไหม ด้วยถ่านที่แกะมานี่แหละ
- [message]
- ##info-circle## ข้อควรระวัง
- วงจรถ่านแต่ละประเภทนั้น ออกแบบมาโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ คือ จะเอาถ่าน NiMH ไปใส่ที่ชาร์จแบตลิเธียม อย่าง MK II หรือ III ไม่ได้ ห้ามทำโดยเด็ดขาดนาจ๊ะ ระวังถ่านระเบิดเอาได้
- ##info-circle## ข้อควรระวัง
- วงจรถ่านแต่ละประเภทนั้น ออกแบบมาโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ คือ จะเอาถ่าน NiMH ไปใส่ที่ชาร์จแบตลิเธียม อย่าง MK II หรือ III ไม่ได้ ห้ามทำโดยเด็ดขาดนาจ๊ะ ระวังถ่านระเบิดเอาได้
พอทดสอบตัวอุปกรณ์ผ่าน ว่าชาร์จไฟเข้าได้จริง ทีนี้ก็มาทดสอบกับแบตฯของเราเองบ้าง ผลที่ได้เป็นไปตามคาดคือ แบตทุกก้อนยังใช้งานได้ เก็บประจุได้มากน้อยต่างกันไปนิดหน่อย โดยใช้วิธีง่ายๆ ชาร์จพร้อมกัน พอเต็มแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้สักพัก แล้วเอามาวัด % ความจุทีละก้อนๆ ว่าลดลงเหลือเท่าไหร ก็คัดก้อนที่ความจุลดลงใกล้เคียงกันใส่ใน power bank เดียวกัน ตัวแบตผ่านแล้ว ก็กลับมาทดสอบตัววงจรต่อ มีแบตทั้งหมด 6 ก้อน ก็แบ่งเท่าๆกัน 3 ก้อน ชาร์จให้เต็มอีกรอบ แล้วลองนำมาชาร์จมือถือ วัดกระแสไฟต่อไป
สรุป DIY Power bank MK-II & III
จากการทดสอบ และใช้งานจริง DIY power bank สองตัวนี้ใช้งานได้ดีมาก ด้วยเพราะประสิทธิภาพของแบต แบบลิเธียมฯ นั้นดีจริง เก็บประจุไฟได้เยอะ และใช้งานได้นานจริง แถมแบตเหลือเท่าไหรก็เสียบชาร์จได้เลย ไม่ต้องรอแบตหมดก่อนแบบถ่านรุ่นเก่าการชาร์ตเข้า power bank ทั้งสองตัวไม่ต่างกัน คือ เมื่อชาร์จไปถึงประมาณ 95 % จะชาร์จเข้าช้าลงอย่างมาก ไม่ว่าจะใช้อะแดปเตอร์กี่แอปม์ก็ตาม ด้วยเพราะวงจรมีการป้องกัน overcharge เวลาเสียชาร์จทิ้งไว้ ถ้าไม่มีตรงนี้จะทำให้ถ่านร้อน จนไหม้และพังได้ ตรงนี้ไม่ต่างกับ power bank แบบสำเร็จรูป ว่าทำไมชาร์จนานมากกว่าจะเต็ม ไม่ต้องแปลกใจ อีกทั้งแบตฯไม่ต้องเต็มก็สามารถเอาไปใช้ได้เลย ไม่ส่งผลต่ออายุแบตประการใด นั่นเพราะแบตลิเธียมอายุเสื่อมตาม 1. รอบในการชาร์จ (Battery Charge Cycle) โดยผลรวมในการชาร์จแต่ละครั้ง = 100 คือ 1 รอบ เช่น ครั้งแรก ชาร์จตอนแบตเหลือ 50% ชาร์จจนเต็ม = 0.5 รอบ อีกวันชาร์จเหมือนเดิมอีก รวม 2 วันก็เท่ากับ 1 รอบ 2. ความร้อน (ยิ่งร้อนแบตฯยิ่งเสื่อมเร็ว)
การนำไปใช้งาน เท่าที่ใช้งานหลายครั้ง ตัว DIY Power bank นี้ก็ใช้งานได้แทบไม่ต่างกับที่ไปซื้อแบบสำเร็จจากร้านค้าทั่วไปเลย เมื่อใช้งานจนประจุเก็บไว้ใกล้หมด ตัววงจรจะตัดการทำงานลง แต่จริงๆแบตฯยังไม่หมด ทั้งนี้เพราะหากใช้งานจนแบตหมดเกลี้ยง(3.) เลย จะทำให้แบตลิเธียมเสื่อมเร็วนั่นเอง วงจรออกแบบมาครบเครื่องดีจริงๆ ใน ตัว MK II จะมีช่องชาร์จ 2 ช่อง ระบุว่า 1A กับ 2A ให้เลือกใช้ตามแต่ มือถือจะรองรับได้ (ช่อง 2A คำนวนแล้วก็คือ 10W มือถือรุ่นเก่าส่วนใหญ่จะได้แค่ 5W)
หลังจากใช้งานไปได้ 1 ปี Power bank MK II แบตฯเริ่มเสื่อม เก็บประจุไม่ได้เลย ก็เลยแกะ เอามาวัดว่ามันเสื่อมทุกก้อนไหม ปรากฏว่ามีเสื่อมก้อนเดียว พอเอาก้อนที่เสื่อมออกไป อีก 2 ก้อนที่เหลือก็นำมาใช้งานต่อได้ตามปกติ (กำจัดจุดอ่อน)
หลังจากใช้งานไปได้ 1 ปี Power bank MK II แบตฯเริ่มเสื่อม เก็บประจุไม่ได้เลย ก็เลยแกะ เอามาวัดว่ามันเสื่อมทุกก้อนไหม ปรากฏว่ามีเสื่อมก้อนเดียว พอเอาก้อนที่เสื่อมออกไป อีก 2 ก้อนที่เหลือก็นำมาใช้งานต่อได้ตามปกติ (กำจัดจุดอ่อน)
เท่ากับว่าเราสามารถเปลี่ยนก้อนที่เสื่อมออกได้เรื่อยๆ เยี่ยมจริงๆ นี่ถ้าซื้อแบบสำเร็จมาคงต้องปาทิ้งถังขยะอย่างเดียวไปแล้ว ทั้งๆที่แบตอาจเสื่อมแค่ก้อนเดียว 555+
COMMENTS